หน้าแรก ›› เกี่ยวกับชมรมฯ ›› คณะกรรมการอำนวยการ (Steering committee) ชุดแรก ปี 2546 |
||
คณะกรรมการอำนวยการ (Steering committee) ชุดแรก ปี 2546
ที่ปรึกษา
ผลจากการรวมกลุ่มแพทย์จำนวนมากขึ้น ต่อมาในปี 2546 ได้มีการริเริ่มการทำวิจัยร่วมกันทั้ง 20 สถาบัน ในโครงการ “ทะเบียนผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็ก” ซึ่งเป็นฐานข้อมูลโรคมะเร็งเด็กแห่งแรกที่มีความสมบูรณ์และถูกต้องที่สุดของประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับในวงการแพทย์และถูกนำไปใช้ในการอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา และโดยความความสำเร็จของการรวมตัวในงานวิจัยแรกนี้ ได้มีการขยายผลการวิจัยออกไปเป็นอีกหลายโครงการที่ดำเนินการภายในชื่อ ชมรมโรคมะเร็งเด็กแห่งประเทศไทย การรวมกลุ่มของแพทย์ในชมรมโรคมะเร็งในเด็กแห่งประเทศไทย ไม่เพียงแต่เป็นการรวมตัวเพื่องานวิจัยเท่านั้น แต่ยังเป็นการรวมกลุ่มแพทย์ที่ดำเนินงานในทุกด้านร่วมกัน ทั้งในด้านการบริการ การรักษา และการวิจัย โดยผลที่เห็นจากการดำเนินการร่วมกัน คือ การดำเนินการจัดทำโปรโตคอลการรักษาผู้ป่วยโรค leukemia และ lymphoma ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ในโครงการ disease management เพื่อเป็นแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคดังกล่าวนี้ในผู้ป่วยสิทธิ์การรักษา 30 บาทรักษาทุกโรคของประเทศไทย โดยดำเนินการในเดือนมีนาคม 2549 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ชมรมโรคมะเร็งในเด็ก ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งอยู่ในโรงเรียนแพทย์, โรงพยาบาลศูนย์ฯ และ โรงพยาบาลเอกชน มากกว่า 100 คน ทั่วประเทศในปัจจุบัน ความต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของทุก ๆ สมาคมวิชาชีพ ซึ่งส่วนนี้ต้องได้รับการสนองตอบจากสมาชิกของสมาคมทุก ๆ คน โดยเฉพาะการเป็นที่ยอมรับของเพื่อนแพทย์สาขาต่าง ๆ และก็คงเป็นหน้าที่ของแพทย์รุ่นน้องเข้ามาสานงานต่อ และให้สมาคมเติบโตอย่างมีคุณภาพมากขึ้นไปในอนาคต